![]() |
1.ระบบภาระงานทางวิชาการ เป็นระบบย่อยที่ประมวลภาระงานของบุคลากรสายวิชาการ ได้แก่ งานสอน งานวิจัย บริการวิชาการ โดยนำเข้าข้อมูลงานสอนจากระบบกองบริการการศึกษา ข้อมูลงานวิจัยจากสำนักวิจัย และข้อมูลบริการวิชาการจากศูนย์บริการวิชาการ และสำนักสิริพัฒนา (ศูนย์ฝึกอบรม) 2.ระบบขอตำแหน่งที่สูงขึ้น เป็นระบบย่อยที่สามารถแจ้งสิทธิ์ของบุคลากรรายบุคคลในการขอตำแหน่งที่สูงขึ้นในระดับต่างๆ การทราบระเบียบข้อบังคับ กระบวนการขอตำแหน่งระดับต่างๆ รวมถึงการยื่นขอตำแหน่งที่สูงขึ้น และสถานะการดำเนินการดังกล่าว 3.ระบบสมรรถนะบุคลากร เป็นระบบย่อยที่ใช้ในการประเมินสมรรถนะบุคลากร (Competency) ผ่านระบบ เพื่อความสะดวก รวดเร็วถูกต้องในการนำข้อมูลการประเมินใช้ในการพัฒนาบุคลากรรายบุคคล รวมถึงการเป็นส่วนประกอบหนึ่งของการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร 4.การประเมินผลการปฏิบัติงาน เป็นระบบย่อยที่ใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรของสถาบัน โดยดึงข้อมูลจากระบบภาระงานทางวิชาการ และระบบสมรรถนะบุคลากร |
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำระบบ HRIS
การดำเนินการพัฒนาระบบ HRIS มีหน่วยงานที่มีส่วนร่วม 3 ส่วนหลัก คือ
ส่วนที่ 1 กองบริหารทรัพยากรบุคคล | มีบทบาทในการกำหนดความต้องการในการพัฒนาระบบ (Requirments) ว่าประกอบด้วยกระบวนงานใดบ้าง กระบวนการเป็นอย่างไร ต้องใช้ข้อมูล เอกสารที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง รายงานที่ต้องการมีส่วนประกอบอะไร เป็นต้น |
ส่วนที่ 2 สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ | มีบทบาทประสานงานทางด้านเทคนิค เพื่อให้มั่นใจว่าระบบ HRIS สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล บนพื้นฐานของโครงสร้างเครือข่าย และกรอบนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของสถาบัน |
ส่วนที่ 3 บริษัทวิชั่นเน็ท | มีบทบาทในการพัฒนาโปรแกรมตามข้อกำหนด (TOR) |
รู้จักนิด้า / หน่วยงานอื่นของนิด้า /กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพ /กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรบุคคล / กลุ่มงานบริหารงานบุคคล