การจัดการความรู้ 

การพัฒนาศักยภาพ ความสามารถในการดำเนินงานขององค์การเป็นสิ่งที่บุคลากรทุกระดับควรให้ความสำคัญ และกระแสในปัจุจบันอย่าง Soft Skill ที่มีความเชื่อมโยงกับการจัดการความรู้ โดยเฉพาะความรู้ ทักษะ แนวปฏิบัติต่าง ๆ ขององค์การที่อยู่ในตัวบุคลากร (Tacit Knowledge) ซึ่งบุคลากรเหล่านั้นได้สั่งสมความรู้ ประสบการณ์มายาวนาน ทั้งรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น การเรียนรู้จากประสบการณ์  การฝึกอบรม  การศึกษาดูงาน  การทดลอง  การประยุกต์ใช้จากแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) การแนะนำสอนงาน (Coaching) จากผู้บังคับบัญชาหรือเพื่อนร่วมงาน หรือจากการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายภายนอกต่าง ๆ ซึ่งความรู้ดังกล่าวเปรียบดังสินทรัพย์อันมีค่าขององค์การ  องค์การควรต้องมีการบริหารจัดการความรู้ (Knowledge Management ) ดังกล่าวให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินงาน การเรียนรู้ของบุคลากรและองค์การ ด้วยกระบวนการแสวงหา จัดเก็บ ถ่ายทอด เพื่อให้มั่นใจว่าบุคลากรสามารถปรับใช้อย่างเหมาะสมกับบริบทต่างๆ ขององค์การให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน รวมถึงการเรียนรู้ของบุคลากรระดับต่าง ๆ ขององค์การ

    ปัจจัยสำคัญหนึ่งในการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ คือ การกระตุ้นและสนับสนุนอย่างต่อเนื่องของผู้บริหารขององค์กร เพื่อให้เกิดบรรยายกาศของการเรียนรู้ ทำให้บุคลากรของสถาบันได้มีโอกาสในการส่งมอบความรู้และประสบการณ์ผ่านกิจกรรมหรือเวทีต่างๆ และขยายเป็นชุมชนนักปฏิบัติ ที่ส่งมอบองค์ความรู้และประสบการณ์อย่างต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 สืบเนื่องถึงปัจจุบันสถาบันได้ผลักด้น ให้การจัดการความรู้เป็นหนึ่งในกระบวนการที่ช่วยยกระดับการปฏิบัติงาน และการเรียนรู้ของบุคลากร โดยอาศัยแนวคิดค่านิยมของเกณฑ์คุณภาพมาประยุกต์ใช้ ได้แก่ การปฏิบัติงานโดยอาศัยความรู้ และข้อมูลเชิงประจักษ์ (Management by Fact) การทำงานแบบ PDCA และการคิดเชิงระบบ (System Thinking) ผ่านการปรับปรุงการปฏิบัติงาน รวมถึงการวิจัยจากงานประจำ (Routine to Research : R2R) และกระบวนการตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) มาประกอบในการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ของสถาบัน

   นอกจากนั้นยังให้ความสำคัญในการจัดเก็บ รวบรวม ประมวล และเผยแพร่ความรู้ที่อยู่ในรู้ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ในช่องทางต่างๆ เช่น เว็บไซต์การจัดการความรู้ระดับสถาบัน (www.km.nida.ac.th) การเผยแพร่แลกเปลี่ยนความรู้ในงานมหกรรมการจัดการความรู้ NIDA Knowledge Forum ร่วมถึงกิจกรรม NIDA Expert Sharing Plus เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่าบุคลากรมีช่องทาง และเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการเข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้อย่างแท้จริง

มารู้จักกับเว็บไซต์การจัดการความรู้ของนิด้า

สถาบันใช้เว็บไซต์การจัดการความรู้ระดับสถาบันเป็นช่องทางหนึ่งในการจัดเก็บความรู้ที่สำคัญในการปฏิบัติงานของบุคลากร ซึ่งประกอบด้วย

1. ความรู้ภายในองค์การ เป็นความรู้ที่สกัดจากบุคลากรภายในสถาบันจากบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน เพื่อเผยแพร่ความรู้ แนวปฏิบัติที่ดีจากผู้รู้ผู้มีประสบการณ์ของสถาบัน
2. ความรู้ภายนอก เป็นการแผยแพร่ความรู้ แนวปฏิบัติต่างๆ ที่น่าสนใจ เพื่อประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน
3. ผลงานในการศึกษา ค้นคว้าของบุคลากรของสถาบัน
3.1 งานวิจัยสายสนับสนุน
3.2 งานวิเคราะห์ งานสังเคราะห์
3.3 คู่มือการปฏิบัติงาน

4. เทคนิคการใช้ MS Office ได้แก่ Excel Word และ PowerPoint
5. NIDA Infographic เป็นการสกัดและเผยแพร่ความรู้ของสถาบันในรูปแบบของภาพ และภาพเคลื่อนไหวเพื่อให้งานต่อการศึกษาเข้าใจ
6. กิจกรรมการจัดการความรู้ เป็นการรวบรวมกิจกรรมการจัดการความรู้ที่นิด้าดำเนินการที่ผ่านมา เพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงในการปรับปรุงการดำเนินงานในกิจกรรมดังกล่าวในอนาคต