การจัดการความรู้
การพัฒนาศักยภาพ ความสามารถในการดำเนินงานขององค์การเป็นสิ่งที่บุคลากรทุกระดับควรให้ความสำคัญ และกระแสในปัจุจบันอย่าง Soft Skill ที่มีความเชื่อมโยงกับการจัดการความรู้ โดยเฉพาะความรู้ ทักษะ แนวปฏิบัติต่าง ๆ ขององค์การที่อยู่ในตัวบุคลากร (Tacit Knowledge) ซึ่งบุคลากรเหล่านั้นได้สั่งสมความรู้ ประสบการณ์มายาวนาน ทั้งรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น การเรียนรู้จากประสบการณ์ การฝึกอบรม การศึกษาดูงาน การทดลอง การประยุกต์ใช้จากแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) การแนะนำสอนงาน (Coaching) จากผู้บังคับบัญชาหรือเพื่อนร่วมงาน หรือจากการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายภายนอกต่าง ๆ ซึ่งความรู้ดังกล่าวเปรียบดังสินทรัพย์อันมีค่าขององค์การ องค์การควรต้องมีการบริหารจัดการความรู้ (Knowledge Management ) ดังกล่าวให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินงาน การเรียนรู้ของบุคลากรและองค์การ ด้วยกระบวนการแสวงหา จัดเก็บ ถ่ายทอด เพื่อให้มั่นใจว่าบุคลากรสามารถปรับใช้อย่างเหมาะสมกับบริบทต่างๆ ขององค์การให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน รวมถึงการเรียนรู้ของบุคลากรระดับต่าง ๆ ขององค์การ ปัจจัยสำคัญหนึ่งในการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ คือ การกระตุ้นและสนับสนุนอย่างต่อเนื่องของผู้บริหารขององค์กร เพื่อให้เกิดบรรยายกาศของการเรียนรู้ ทำให้บุคลากรของสถาบันได้มีโอกาสในการส่งมอบความรู้และประสบการณ์ผ่านกิจกรรมหรือเวทีต่างๆ และขยายเป็นชุมชนนักปฏิบัติ ที่ส่งมอบองค์ความรู้และประสบการณ์อย่างต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด ตั้งแต่ปี พ.ศ. […]
3 วิธีสร้างวัฒนธรรมการทำงานคุณภาพ
เรื่องการพัฒนาคุณภาพไม่ใช่เรื่องของหัวหน้าหน่วยงาน และไม่ใช่เรื่องของงานประกันคุณภาพ หรือที่ปรึกษาเท่านั้น หากเป็นเรื่องของทุกคนในการทำงานประจำวัน ทำทุกวันจนเป็นนิสัย คำถามคือทำอะไร 1. คิดอย่างเป็นระบบ Systems Thinking (Result Oriented)ภายใต้บริบทหรือสภาพแวดล้อมของที่ทำงาน ซึ่งกระบวนการคิดเช่นนี้ในการทำงานจำเป็นต้องเริ่มกระบวนการคิดจากผลลัพธ์หรือสิ่งที่ต้องการ (Outcome) ผลกระทบ (Impact) อันเป็นกระบวนการคิดแบบ Result Oriented คือ มุ่งผลลัพธ์ ซึ่งการคิดในกระบวนการแบบราชการเดิมจะเป็นการคิดที่มุ่งกระบวนการมากกว่า (Procee Oriented) ทำเพราะสิ่งนี้ทำกันมา แต่ไม่เคยได้คิดว่าทำแล้วได้อะไร หากเราร่วมกันทำงานด้วยกระบวนการคิดเช่นนี้ เราจะเห็นงานจำนวนมากที่ควรละ และเลิกทำได้แล้ว และเห็นงานที่มีคุณค่าสมควรทำอีกมากมาย 2. การใช้ข้อมูลในการบริหารงาน MBF : Management by Fact เป็นการนำข้อมูลจริงที่ได้จากการทำงานมาประกอบการตัดสินใจ เช่น คุณลักษณะของนักศึกษาที่สมัคร จำนวนผลงานที่ได้รับการอ้างอิง ระดับความพึงพอใจ เป็นต้น ไม่ใช่การคิดเอาเองว่าเรื่องน้นเรื่องนี้เป็นปัญหา หรือ “มโน” “นั่งเทียน” ซึ่งการนำข้อมูลมาใช้ในการทำงานเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากในการบริหารเชิงคุณภาพ ทั้งนี้ เพื่อให้เราทราบปัญหาที่แท้จริงจากข้อมูลเชิงประจักษ์ ทำให้เราสามารถเรียนรู้ถึงผลลัพธ์จากการทำงานที่ได้ลงแรงไป เป็นแนวคิดที่ไม่ได้ให้ความสำคัญแค่การวางแผน แต่เน้นการทำงานอย่างมีระบบ มีเป้าหมายมุ้งเน้นให้เกิดคุณภาพ การยกระดับ […]
ทักษะแห่งศตวรรษที่21
สถานการณ์โลกมีการเปลี่ยนแปลงและความแตกต่างกันไปในแต่ละศตวรรษ แน่นอนว่าทักษะและการเรียนรู้ของมนุษย์ก็จำเป็นต้องมีการพัฒนาเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างสอดคล้องและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทักษะในศตวรรษที่ 21 ย่อมมีความแตกต่างจากศตวรรษที่ 20 และ 19 ซึ่งทักษะที่จำเป็นของคนในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 3R x 7C 3R ได้แก่ 7C ได้แก่ การเรียนรู้เพื่อให้เกิดทักษะดังกล่าวเน้นความสำคัญ 2 ส่วน คือ 1. ผลการเรียนรู้ของผู้เรียน (Student Outcomes) และ 2. ระบบสนับสนุน (Support Systems) ซึ่งต้องเริ่มจากการเปลี่ยนแปลงทัศนะ (perspectives) จากกระบวนทัศน์แบบดั้งเดิม (tradition paradigm) ไปสู่กระบวนทัศน์ใหม่ (new paradigm) โดยให้ตัวผู้เรียนและโลกความเป็นจริงเป็นศูนย์กลางของกระบวนการเรียนรู้ เน้นพัฒนาทักษะและทัศนคติ ทักษะการคิด ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะองค์การ ทัศนคติเชิงบวก ความเคารพตนเอง นวัตกรรม ความสร้างสรรค์ ทักษะการสื่อสาร ทักษะและค่านิยมทางเทคโนโลยี ความเชื่อมั่นตนเอง ความยืดหยุ่น การจูงใจตนเอง และความตระหนักในสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นลักษณะการเรียนรู้แบบ […]
ประกันสังคมต้องรู้
กรณีประสบอันตราย หรือบาดเจ็บ ผู้เจ็บป่วยเรื้อรัง หรือผู้ทุพพลภาพ กรณีคลอดบุตร ปรับปรุงหลักเกณฑ์การได้รับสิทธิประโยชน์ กรณีทุพพลภาพ ขยายความคุ้มครอง กรณีสงเคราะห์บุตร เงินสมทบ กรณีว่างงาน การบริหารการลงทุน กรณีตาย ความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ผู้จงใจให้ตนเองได้รับบาดเจ็บ ทุพพลภาพ และตาย ผู้สนใจเพิ่มเติมสามารถดาวน์โหลดคู่มือผู้ประกันตน หรือ เว็บไซต์ประกันสังคมตามลิงค์