การจัดการความรู้นิด้า

    ปัจจุบันการพัฒนาศักยภาพ ความสามารถในการดำเนินงานขององค์การเป็นสิ่งที่บุคลากรทุกระดับควรให้ความสำคัญ โดยเฉพาะความรู้ ทักษะ แนวปฏิบัติต่างๆ ขององค์การที่อยู่ในตัวบุคลากร (Tacit Knowledge) ซึ่งบุคลากรเหล่านั้นได้สั่งสมความรู้ ประสบการณ์มานาน ทั้งรูปแบบที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ เช่น การพัฒนาตนเอง  การฝึกอบรม  การศึกษาดูงาน  การลองผิดลองถูก  การประยุกต์ใช้จากแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice)  การแนะนำสอนงาน (Coaching) จากผู้บังคับบัญชา หรือเพื่อนร่วมงาน  ซึ่งความรู้ดังกล่าวเปรียบดังสินทรัพย์อันมีค่าขององค์การ  องค์การควรต้องมีการบริหารจัดการความรู้ (Knowledge Management ) ดังกล่าวให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินงาน การเรียนรู้ของบุคลากรและองค์การ โดยการแสวงหา จัดเก็บ ถ่ายทอด เพื่อให้มั่นใจว่าบุคลากรสามารถปรับใช้อย่างเหมาะสมกับบริบทต่างๆ ขององค์การให้มีประสิทธิผล  และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน รวมถึงการเรียนรู้ของบุคลากรระดับต่างๆ  ขององค์การ

     ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 สถาบันได้ผลักด้นให้การจัดการความรู้เป็นหนึ่งในกระบวนการที่ช่วยยกระดับการปฏิบัติงาน และการเรียนรู้ของบุคลากร โดยอาศัยแนวคิดค่านิยมของเกณฑ์คุณภาพมาประยุกต์ใช้ ได้แก่ การปฏิบัติงานโดยอาศัยความรู้ และข้อมูลเชิงประจักษ์ (Management by Fact) การทำงานแบบ PDCA และการคิดเชิงระบบ (System Thinking)  ผ่านการปรับปรุงการปฏิบัติงาน  รวมถึงการวิจัยจากงานประจำ (Routine to Research : R2R)

   นอกจากนั้นยังให้ความสำคัญในการจัดเก็บ รวบรวม ประมวล และเผยแพร่ความรู้ที่อยู่ในรู้ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ในช่องทางต่างๆ เช่น เว็บไซต์การจัดการความรู้ระดับสถาบัน (www.km.nida.ac.th) การเผยแพร่แลกเปลี่ยนความรู้ในงานมหกรรม NIDA Knowledge Forum ร่วมถึงกิจกรรม NIDA Expert Sharing Plus เป็นต้น  ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่าบุคลากรมีช่องทาง และเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการเข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้อย่างแท้จริง

 

  มารู้จักกับเว็บไซต์การจัดการความรู้

สถาบันใช้เว็บไซต์การจัดการความรู้ระดับสถาบันเป็นช่องทางหนึ่งในการจัดเก็บความรู้ที่สำคัญในการปฏิบัติงานของบุคลากร ซึ่งประกอบด้วย

     1.ความรู้ภายในองค์การ เป็นความรู้ที่สกัดจากบุคลากรภายในสถาบันจากบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน เพื่อเผยแพร่ความรู้ แนวปฏิบัติที่ดีจากผู้รู้ผู้มีประสบการณ์ของสถาบัน

     2.ความรู้ภายนอก เป็นการแผยแพร่ความรู้ แนวปฏิบัติต่างๆ ที่น่าสนใจ เพื่อประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน

     3.ผลงานในการศึกษา ค้นคว้าของบุคลากรของสถาบัน

           3.1 งานวิจัยสายสนับสนุน

           3.2 งานวิเคราะห์ งานสังเคราะห์

           3.3 คู่มือการปฏิบัติงาน

     4.เทคนิคการใช้ MS Office ได้แก่ Excel Word และPowerpoint

     5.NIDA Infographic เป็นการสกัดและเผยแพร่ความรู้ของสถาบันในรูปแบบของภาพ และภาพเคลื่อนไหวเพื่อให้งานต่อการศึกษาเข้าใจ

     6.กิจกรรมการจัดการความรู้ เป็นการรวบรวมกิจกรรมการจัดการความรู้ที่นิด้าดำเนินการที่ผ่านมา เพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงในการปรับปรุงการดำเนินงานในกิจกรรมดังกล่าวในอนาคต

 

 

 ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21  /ประกันสังคมต้องรู้  /กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรบุคคล