ทุกองค์การล้วนต้องการให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ เป้าหมายที่กำหนด ซึ่งความสำเร็จเหล่านั้นส่วนใหญ่เกิดจากความมุ่งมั่น ทุ่มเทปฏิบัติงานของบุคลากรทุกคน ทุกระดับ ตามหน้าที่ความรับผิดชอบต่างๆที่กำหนดไว้  การประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรเป็นวิธีการที่จะทำให้ผู้บริหารขององค์การทราบถึงสถานะของการปฏิบัติงานตามภารกิจ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายต่างๆ ที่ถ่ายทอดให้บุคลากรผู้ปฏิบัติงานในระดับต่างๆ   เพื่อประโยชน์ในหลายด้าน คือ

 

     1.ด้านสถาบันจะได้ทราบสถานะในการปฏิบัติงานในภารรวมว่าสำเร็จ หรือไม่ ระดับใด ต้องปรับปรุง พัฒนา หรือบริหารจัดการจุดไหน อย่างไรเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ตั้งไว้ตามกำหนด 

     2.ด้านผู้บังคับบัญชาได้ทราบถึงทักษะความรู้ของผู้ได้บังคับบัญชาต่อการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย ว่ามีเพียงพอหรือไม่ มอบหมายงานถูกกับคนหรือไม่ ควรมีการจัดสรร โยกย้าย สลับตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบหรือไม่ เพื่อให้ผลการปฏิบัติงานในภาพรวมมีประสิทธิภาพและประสิทธผล

     3.ด้านผู้ปฏิบัติงานได้ทราบถึงช่องว่างความรู้ ทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายว่า ตนเองยังต้องเพิ่มพูนความรู้ ทักษะของตนเพิ่มเติมหรือไม่ อย่างไร

     จะเห็นได้ว่าการประเมินผลการปฏิบัติงานมีความสำคัญมากกว่าการนำผลการประเมินใช้พิจารณาเลื่อนเงินเดือน ยังรวมถึงการนำผลที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาบุคลากร และพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานด้วย

  
 

     สถาบันนำระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานมาใช้ในการบริหารจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงานและตอบสนองต่อภารกิจและวิสัยทัศน์ที่สถาบันกำหนดไว้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

     1) พัฒนาและปรับปรุงการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งๆ ขึ้น

     2) ให้รางวัลสำหรับหน่วยงานที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเด่น

     3) ประกอบการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน

     ซึ่งรอบการประเมินผลการปฏิบัติงานกำหนดไว้ปีงบประมาณละ 2 รอบ คือ รอบที่ 1 ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม ถึง 31 มีนาคม และรอบที่ 2 ระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึง 30 กันยายน ในแต่ละรอบผู้รับการประเมินจะทำการตกลงถึงผลการปฏิบัติงานร่วมกับผู้บังคับบัญชาก่อน และทำการประเมินผลโดยเทียบเคียงผลงานที่ทำได้จริงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ เพื่อสรุปเป็นคะแนนประเมิน หากในระหว่างรอบมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เช่น มีงานเพิ่มเติมจากที่ได้ตกลงไว้ ผู้รับการประเมินกับผู้บังคับบัญชาสามารถร่วมกันพิจารณาปรับปรุง/แก้ไขเพิ่มเติมได้

     โดยพิจารณาองค์ประกอบในการประเมินผลการปฏิบัติงาน 2 องค์ประกอบหลัก คือ องค์ประกอบด้านผลสัมฤทธิ์ของงาน(KPI) และองค์ประกอบด้านพฤติกรรมหรือสมรรถนะ(Competency) ทั้งนี้การกำหนดเป้าหมายหรือตัวชี้วัดความสำเร็จในแต่ละองค์ประกอบจะต้องมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของสถาบันหรือหน่วยงาน โดยสัดส่วนหรือค่าน้ำหนักจะขึ้นอยู่กับประเภทและตำแหน่งของบุคลากร ซึ่งมีความแตกต่างกันระหว่างข้าราชการและพนักงานสถาบันทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน ดังนี้

บุคลากรสายวิชาการ (ตัวอย่าง อาจารย์ไม่ได้ดำรงตำแหน่งบริหาร)

 

บุคลากรสายสนับสนุน (ตัวอย่าง ผู้ปฏิบัติงาน)

 

 

 

 กลุ่มงานบริหารงานบุคคลประเมินผลการปฏิบัติงานดาวน์โหลดเอกสารที่เกี่ยวข้อง