NIDA

คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สำนักวิจัย  
คณะบริหารธุรกิจ สำนักสิริพัฒนา (สำนักฝึกอบรม)
คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สำนักบรรณสารการพัฒนา (ห้องสมุด)
คณะสถิติประยุกต์ สำนักเทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศ
คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม กองบริหารงานกลาง
คณะภาษาและการสื่อสาร กองกฎหมาย
คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กองบริการการศึกษา
คณะนิติศาสตร์ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน
คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ กองคลังและพัสดุ
คณะการจัดการการท่องเที่ยว กองบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม กองตรวจสอบภายใน
วิทยาลัยนานาชาติ  

 

รู้จักกองบริหารทรัพยากรบุคคล / นโยบายคุณภาพ /การสรรหาบุคลากร

     สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เป็น สถาบัน การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2509 ด้วยความช่วยเหลือเบื้องต้นจาก คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรมวิเทศสหการ มูลนิธิฟอร์ด และ Midwest University Consortium for International Affairs (MUCIA) โดยโอนคณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ งานฝึกอบรมส่วนหนึ่งของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ งานฝึกอบรม และงานสอนส่วนหนึ่งของสำนักงานสถิติแห่งชาติ มาเป็นกิจกรรมหนึ่งของสถาบัน

 
                                         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นพิเศษ เมื่อราว พ.ศ. 2503 ได้ทรงปรารภกับ นายเดวิด รอกกิเฟลเลอร์ ถึงเรื่องที่จะปรับปรุงการสถิติของชาติ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศ และในที่สุดได้มีการจัดทำโครงการเสนอรัฐบาล โดยให้ตั้ง Graduate Institute of Development Administration (GIDA) ขึ้น ต่อ มา รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาจัดตั้งสถาบันสอนวิชาการบริหารเกี่ยว กับการพัฒนาประเทศ โดยได้นำโครงการ GIDA ของด็อกเตอร์ สเตซี เมย์ มาศึกษา และได้เสนอมติของที่ประชุมคณะกรรมการต่อคณะรัฐมนตรีว่าควรจะตั้ง สถาบันพัฒนาการบริหาร (Institute of Development Administration) โดยดำเนินการสอนในขั้นปริญญาโทและเอก การศึกษาฝึกอบรม และการวิจัย ต่อมาจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)

                   พันธกิจ

เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ของสถาบัน จึงกำหนดพันธกิจที่ต้องดำเนินการไว้ ดังต่อไปนี้

     1.สร้างผู้นำที่มีปัญญาคู่คุณธรรมเพื่อพัฒนาประเทศ

     2.สร้างองค์ความรู้ ศึกษาวิจัย ด้านการบริหารการพัฒนา

     3.สร้างงานบริการวิชาการที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาประเทศ

     4.สร้างเสริมค่านิยมและจิตสำนึกมุ่งมั่นพัฒนาประเทศ บนพื้นฐานความเข้มแข็งของศิลปวัฒนธรรมไทย

     5.สร้างเสริมการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล โดยให้คุณค่ากับการพัฒนาและการมีส่วนร่วมของบุคลากร

     6.สร้างประโยชน์ให้กับสังคมเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

 

รู้จักกองบริหารทรัพยากรบุคคล / หน่วยงานอื่นของนิด้า / การสรรหาบุคลากร