การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA)    

     การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment : ITA) เป็นการประยุกต์แนวคิดของการประเมินคุณธรรมการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity Assessment) ขององค์การต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ คือ องค์การต่อต้านการทุจริตและสิทธิพลเมือง (Anti-Corruption and Civil Rights Commission: ACRC) จากสาธารณรัฐเกาหลี บูรณาการเข้ากับดัชนีวัดความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐของสำนักงาน ป.ป.ช. โดยได้กำหนดเป็นกรอบแนวคิดการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ และสังเคราะห์เป็นดัชนีหลักที่สำคัญและจำเป็นในการประเมินโดยจำแนกดัชนีเป็นตัวชี้วัด ตัวชี้วัดย่อย ประเด็นในการสำรวจ และแปลงไปสู่คำถามที่ใช้ในการสอบถามความคิดเห็นหรือรวบรวมจากข้อมูลเอกสาร/หลักฐานของหน่วยงาน

 
 

     การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment : ITA) แบ่งเป็น 5 ดัชนี ดังนี้

1. ความโปร่งใส (Transparency) ประเมินจากความคิดเห็นของผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามประสบการณ์ในการรับบริการจากหน่วยงานภาครัฐและจากข้อมูลเอกสาร/หลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence - Based) บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงในการดำเนินงานของหน่วยงาน 

2. ความพร้อมรับผิด (Accountability) ประเมินจากความคิดเห็นของผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามประสบการณ์ในการรับบริการจากหน่วยงานภาครัฐ

3. คุณธรรมการให้บริการของหน่วยงาน (Integrity in Service Delivery) ประเมินจากการรับรู้ของผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ

4. วัฒนธรรมคุณธรรมในองค์กร (Integrity Culture) ประเมินจากความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานภาครัฐและจากข้อมูลเอกสาร/หลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence - Based) บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงในการดำเนินงานของหน่วยงาน

5. คุณธรรมการทำงานในหน่วยงาน (Work Integrity) ประเมินจากความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานภาครัฐที่มีต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน                      

 

การประเมินตามโครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 แบ่งเป็น 3 ส่วนได้แก่                          

  1. แบบสำรวจความคิดเห็น Internal Integrity & Transparency Assessment (IIT) โดยสุ่มสำรวจจากเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานงาน                         
  2. แบบสำรวจความคิดเห็น External Integrity & Transparency Assessment (EIT) โดยสุ่มสำรวจจากผู้มีส่วนได้เสียของหน่วยงาน                                                  
  3. แบบสำรวจใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ Evidence – Based Integrity & Transparency Assessment (EBIT)
 โดยประเมินตามแบบสำรวจใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ Evidence – Based ที่ดำเนินการระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2559 - 30 เมษายน 2560

ภาพรวมสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้ 85.18%

  - ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 การจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษา อยู่ในอันดับที่ 3 จาก 81 หน่วยงาน

(ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 อยู่ในอันดับ 70 จาก 77 หน่วยงาน)

  - อยู่ในระดับ 5 ระดับ คือ มีระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานสูงมาก ซึ่งคะแนนดังกล่าวจะเป็นคะแนน ในส่วนของ ก.พ.ร. 5 : ระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสถาบัน

 

ดัชนี

ค่าน้ำหนัก

(ร้อยละ)

คะแนน

หลังถ่วงน้ำหนัก

ที่มา

ผู้มีส่วนได้

ส่วนเสีย

บุคลากร เอกสาร
1. ความโปร่งใส 26 23.38  
2. ความพร้อมรับผิด 18 15.11
3. ความปลอดจากการทุจริตในการปฏิบัติงาน 22 20.22
4. วัฒนธรรมคุณธรรมในองค์กร 16 11.25  
5. คุณธรรมการทำงานในหน่วยงาน 18 15.22

 

 

 

 

 

 

NO GIFT POLICY 

 

 

 

 

 

 

 

ส่วนวางแผนและพัฒนาระบบทรัพยากรบุคคล