เส้นทางการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน (Training Road Map) จากการจำแนกบุคลากรเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้บริหาร กลุ่ม ผอ./เลขา (บ2) กลุ่มหัวหน้างาน (บ1) กลุ่มปฏิบัติการ (ป) สามารถจัดทำเส้นทางการพัฒนาบุคลากร (Training Road Map) โดยยึดตามยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากร ระยะ 5 ปี (2560-2565) ดังนี้ |
|
1) เส้นทางการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรเริ่มบรรจุถึง 3 ปี (Training Road Map ป1) ประกอบด้วยการพัฒนาเป็น 4 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 การพัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อขับเคลื่อนสู่มาตรฐานสากล ประกอบด้วย ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเกณฑ์คุณภาพเบื้องต้น (Basic Quality Excellence) การสร้างกระบวนการทำงานแบบ PDCA การคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking) และการบริหารจัดการงานโดยใช้ข้อมูลและข้อเท็จจริง (Management by Fact) ส่วนที่ 2 การสร้างความเข้าใจค่านิยมร่วมของสถาบัน “WISDOM” ซึ่งเป็นสมรรถนะหลักของบุคลากร (Core Competency) ส่วนที่ 3 การพัฒนาสมรรถนะตามตำแหน่ง (Functional Competency) ได้แก่ ความเชี่ยวชาญในงาน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารในการปฏิบัติงาน และการบริการที่เป็นเลิศ ซึ่งการพัฒนาขึ้นอยู่กับช่องว่างสมรรถนะบุคลากรแต่ละตำแหน่ง และระดับ ส่วนที่ 4 ข้อควรพัฒนาจากผลการประเมินการปฏิบัติงาน |
|
2) เส้นทางการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร ประสบการณ์ 4-6 ปี (Training Road Map ป2) ประกอบด้วยการพัฒนาเป็น 3 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 การพัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อขับเคลื่อนสู่มาตรฐานสากล ประกอบด้วย การนำเกณฑ์คุณภาพที่เกี่ยวข้องมาปรับใช้สู่การปฏิบัติงาน (Intermediate Quality Excellence) การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research : R2R) การคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking) และการบริหารจัดการงานโดยใช้ข้อมูลและข้อเท็จจริง (Management by Fact) ส่วนที่ 2 การพัฒนาสมรรถนะตามตำแหน่ง (Functional Competency) ได้แก่ ความเชี่ยวชาญในงาน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารในการปฏิบัติงาน และการบริการที่เป็นเลิศ ซึ่งการพัฒนาขึ้นอยู่กับช่องว่างสมรรถนะบุคลากรแต่ละตำแหน่ง และระดับ ส่วนที่ 3 ข้อควรพัฒนาจากผลการประเมินการปฏิบัติงาน |
|
3) เส้นทางการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร ประสบการณ์ 6 ปีขึ้นไป (Training Road Map ป3) ประกอบด้วยการพัฒนาเป็น 3 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 การพัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อขับเคลื่อนสู่มาตรฐานสากล ประกอบด้วย การนำเกณฑ์คุณภาพที่เกี่ยวข้องมาปรับใช้สู่การปฏิบัติงาน (Intermediate Quality Excellence) การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research : R2R) การคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking) และการบริหารจัดการงานโดยใช้ข้อมูลและข้อเท็จจริง (Management by Fact) ส่วนที่ 2 การพัฒนาสมรรถนะตามตำแหน่ง (Functional Competency) ได้แก่ ความเชี่ยวชาญในงาน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารในการปฏิบัติงาน และการบริการที่เป็นเลิศ ซึ่งการพัฒนาขึ้นอยู่กับช่องว่างสมรรถนะบุคลากรแต่ละตำแหน่ง และระดับ ส่วนที่ 3 ข้อควรพัฒนาจากผลการประเมินการปฏิบัติงาน |
|
4) เส้นทางการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร กลุ่มหัวหน้างาน (Training Road Map บ) ประกอบด้วยการพัฒนาเป็น 4 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 การพัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อขับเคลื่อนสู่มาตรฐานสากล ประกอบด้วย การพัฒนาการปฏิบัติงาน (Performance Improvement) การนำเกณฑ์คุณภาพที่เกี่ยวข้องมาปรับใช้สู่การปฏิบัติงาน (Intermediate Quality Excellence) การคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking) และการบริหารจัดการงานโดยใช้ข้อมูลและข้อเท็จจริง (Management by Fact) ส่วนที่ 2 การพัฒนาสมรรถนะตามตำแหน่ง (Functional Competency) ได้แก่ ความเชี่ยวชาญในงาน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารในการปฏิบัติงาน และการบริการที่เป็นเลิศ ซึ่งการพัฒนาขึ้นอยู่กับช่องว่างสมรรถนะบุคลากรแต่ละตำแหน่ง และระดับ ส่วนที่ 3 การพัฒนาสมรรถนะทางการบริหาร (Managerial Competency) ได้แก่ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การบริหารการเปลี่ยนแปลง การสร้างเครือข่าย และการบริการแบบมีส่วนร่วม ส่วนที่ 4 การพัฒนาจากข้อควรพัฒนาจากผลการประเมินการปฏิบัติงาน |
|
5) แผนการพัฒนารายบุคคลของบุคลากรกลุ่มหัวหน้างาน (Individual Development Plan) หัวหน้างานที่ผ่านโครงการประเมินศักยภาพเพื่อการพัฒนา (NIDA Assessment Center) จะมีแผนการพัฒนารายบุคคล (IDP) ในการเสริมสร้างจุดแข็ง และพัฒนาจุดที่ควรปรับปรุงของตนเอง เพื่อความก้าวหน้าของตนต่อไป |
กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรบุคคล / ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 /ประเภทบุคลากร / 3 วิธีการสร้างวัฒนธรรมการทำงานเชิงคุณภาพ